การปูบ่อด้วยพลาสติก

การปูบ่อด้วยพลาสติกปูบ่อ

การปูบ่อด้วยพลาสติก ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในการทำเกษตรเลี้ยงสัตว์น้ำสมัยใหม่ เพราะมีข้อดีมากมาย ลดปัญหาจุกจิกได้มาก อีกทั้งยังสามารถควบคุมปัจจัยต่างๆ ให้เหมาะสมกับการเลี้ยงสัตว์น้ำในแต่ละชนิดได้มากกว่า ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อคุณภาพของสัตว์ที่เลี้ยง ประหยัดเวลาและเพิ่มรายได้ได้อย่างแท้จริง 

เมื่อเราต้องการปูบ่อด้วยพลาสติกปูบ่อ สิ่งที่ควรต้องรู้ เพื่อจะได้เลือกซื้อพลาสติกได้ตรงกับการใช้งานมีปริมาณที่เพียงพอ 

  1. พื้นที่ของบ่อ 

  2. พื้นที่ของพลาสติกปูบ่อต่อม้วน

  3. ความหนาของพลาสติกปูบ่อที่ต้องการใช้ 

การเลือกความหนาที่เหมาะสม จะส่งผลทำให้ไม่ต้องซื้อพลาสติกในราคาที่สูงเกินความจำเป็น และควรเลือกพลาสติกปูบ่อที่มีคุณภาพดี จากแหล่งที่เชื่อถือได้ เพื่อความคุ้มค่าและมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน

การปูบ่อด้วยพาสติกปูบ่อนั้นก็ไม่ยุ่งยาก เราได้รวบรวมขั้นตอนและคำแนะนำที่เป็นประโยชน์ไว้ให้ด้านล่างนี้แล้วค่ะ

การปูบ่อด้วยพลาสติกปูบ่อ
1. เตรียมบ่อดินก่อนปูพลาสติก

• ปรับพื้นบ่อให้เรียบ: เกลี่ยพื้นดินให้เรียบเสมอกัน และกำจัดก้อนหินหรือเศษวัสดุแหลมคมที่อาจทำให้พลาสติกฉีกขาดได้
• ขุดหลุมบริเวณขอบบ่อ: เพื่อให้ขอบพลาสติกสามารถฝังลงดินได้ ช่วยลดความเสี่ยงที่พลาสติกจะเคลื่อนตัวหรือถูกลมพัดปลิว
• ตรวจสอบความลาดเอียง: ให้บ่อมีความลาดเอียงที่เหมาะสมเพื่อการระบายน้ำที่ดี

การปูบ่อด้วยพลาสติกปูบ่อ
2. คลี่ผ้ายางปูบ่อลงในบ่อ

• วางพลาสติกในตำแหน่งที่ต้องการ: ควรเริ่มคลี่พลาสติกจากกึ่งกลางบ่อ แล้วค่อยๆ คลี่ออกไปยังขอบบ่อ
• ปรับพลาสติกให้พอดี: ดึงพลาสติกให้แนบสนิทกับพื้นบ่อและผนังบ่อ ลดการเกิดรอยย่นหรือช่องว่าง

การปูบ่อด้วยพลาสติกปูบ่อ
3. ยึดขอบพลาสติกให้แน่น

• ใช้ดินกลบขอบพลาสติกในหลุมที่เตรียมไว้ให้แน่นหนา เพื่อป้องกันพลาสติกเคลื่อนที่
• หากเป็นพื้นที่ลมแรง แนะนำให้ใช้ก้อนหินหรือน้ำหนักอื่นๆ ช่วยกดทับพลาสติกเพิ่มเติม

4. ตรวจสอบความเรียบร้อย

• ตรวจสอบบริเวณที่อาจมีรอยฉีกขาดหรือรอยรั่ว หากพบให้รีบแก้ไขก่อนเติมน้ำ

5. เติมน้ำและปรับแต่งเพิ่มเติม

• ค่อยๆ เติมน้ำลงในบ่อเพื่อตรวจสอบว่าพลาสติกปูแนบสนิทหรือไม่ หากมีส่วนใดไม่เรียบควรปรับแต่งให้เหมาะสม

การคำนวนหาพื้นที่บ่อ

 

สูตรการคำนวนหาพื้นที่บ่อ

การคำนวณ พื้นที่บ่อ (หน่วยเป็น ตารางเมตร)

พื้นที่บ่อ = พื้นที่ด้านข้าง4ด้าน + พื้นที่ก้นบ่อ

โดยที่ พื้นที่ด้านข้าง 4 ด้าน

= ( W x D ) + ( W x D ) + ( L x D ) + ( L x D )

= ( W + W + L + L ) x D

พื้นที่ก้นบ่อ = W x L

ตัวอย่างการคำนวณหาขนาดพื้นที่บ่อ

บ่อมีขนาด ความกว้าง 8 เมตร (W) , ความยาว 15 เมตร (L), ความลึก 2 เมตร (D)

แทนค่าในสูตรจะได้ดังนี้

พื้นที่ด้านข้าง 4 ด้าน = ( 8 + 8 + 15 + 15 ) x 2  =  92 ตารางเมตร

พื้นที่ก้นบ่อ  =  8 x 15  =  120 ตารางเมตร

พื้นที่บ่อ  =  พื้นที่ด้านข้าง4ด้าน + พื้นที่ก้นบ่อ  =  92 + 120  =  212 ตารางเมตร

การคำนวณ พื้นที่พลาสติกปูบ่อ ต่อ1ม้วน

ขนาด กว้าง x ยาว ของพลาสติกหรือผ้ายางปูบ่อ ที่เราจำหน่าย มีอยู่ 2 ขนาด คือ

ขนาด 3.6 เมตร x 36 เมตร (40หลา)

จะมีพื้นที่ทั้งหมด = 3.6 x 36 = 129.6 ตารางเมตรต่อม้วน

ขนาด 4เมตร x 36เมตร (40หลา) จะมีพื้นที่ทั้งหมด

= 4 x 36 = 144 ตารางเมตรต่อม้วน

หมายเหตุ :

  1. หากต้องการปูพลาสติกให้ล้นออกมานอกปากบ่อ ควรเผื่อขนาดพลาสติกเพิ่มขึ้น
  2. ในกรณีที่บ่อมีขนาดใหญ่ จะต้องเผื่อพลาสติกไว้สำหรับการซ้อนทับกันในการต่อกัน

การเลือกความหนาของพลาสติกปูบ่อ

80 ไมครอน (0.08 มิลลิเมตร)

  • เหมาะสำหรับ คลุมดินในแปลงปลูกพืชผัก ป้องกันวัชพืชหรือรักษาความชื้นในดิน การปูบ่อชั่วคราวสำหรับกักเก็บน้ำปริมาณน้อย
  • ลักษณะพื้นที่ที่เหมาะสม คือ ดินเรียบ ไม่มีวัตถุแหลมคม งานเบา ไม่ต้องรองรับน้ำหนักหรือแรงดันน้ำมาก

120 ไมครอน (0.12 มิลลิเมตร)

  • เหมาะสำหรับ ปูบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำขนาดเล็ก เช่น ปลาหางนกยูง กุ้งฝอย หรือปูนา ปูรองกันน้ำซึมในบ่อน้ำตื้น คลุมดินในพื้นที่ปลูกไม้ผลหรือแปลงผัก
  • ลักษณะพื้นที่ที่เหมาะสม คือ ดินทรายหรือดินร่วน บ่อที่ไม่มีเศษหินหรือกิ่งไม้

150 ไมครอน (0.15 มิลลิเมตร)

  • เหมาะสำหรับ บ่อเลี้ยงปลาขนาดเล็กถึงกลาง เช่น ปลานิล ปลาตะเพียน บ่อชั่วคราวสำหรับเก็บน้ำในพื้นที่การเกษตร คลุมบ่อเพื่อกันน้ำซึมในแปลงเกษตร
  • ลักษณะพื้นที่ที่เหมาะสม คือ ดินร่วนหรือดินเหนียว เหมาะกับพื้นที่ที่มีแรงดันน้ำปานกลาง

200 ไมครอน (0.20 มิลลิเมตร)

  • เหมาะสำหรับ บ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ เช่น ปลานิล ปลาดุก กุ้งขาว บ่อเก็บน้ำในพื้นที่การเกษตร ใช้ปูรองในพื้นที่ที่มีน้ำขัง หรือเพื่อป้องกันน้ำซึม
  • ลักษณะพื้นที่ที่เหมาะสม คือ ดินผสมทรายหรือดินเหนียว รองรับน้ำหนักและแรงดันน้ำได้ดี

250 ไมครอน (0.25 มิลลิเมตร)

  • เหมาะสำหรับ บ่อเลี้ยงสัตว์น้ำขนาดใหญ่ เช่น ปลาคาร์ป กุ้งก้ามกราม บ่อเก็บน้ำขนาดใหญ่ในฟาร์มเกษตร ใช้ในพื้นที่ที่มีสภาพดินปนหินหรือสิ่งแหลมคม
  • ลักษณะพื้นที่ที่เหมาะสม คือ ดินแข็งหรือมีเศษหิน พื้นที่ที่ต้องการความทนทานสูงและใช้งานระยะยาว

ข้อแนะนำเพิ่มเติม
หากพื้นที่มีเศษหินหรือวัตถุแหลมคม ควรปูรองด้วยผ้ารองพื้นหรือทรายเพื่อเพิ่มความปลอดภัย

  • สำหรับการเลี้ยงสัตว์น้ำ ควรเลือกพลาสติกที่เป็นเกรดปลอดสารพิษ (Food Grade) เพื่อความปลอดภัยต่อสัตว์น้ำ
  • การเลือกความหนาที่เหมาะสมช่วยให้ใช้งานพลาสติกปูบ่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดปัญหาความเสียหายและยืดอายุการใช้งาน

“หากกำลังมองหาพลาสติกปูบ่อคุณภาพสูง ในราคาที่คุ้มค่า พร้อมตัวเลือกความหนาที่หลากหลาย เหมาะสำหรับทุกการใช้งาน สามารถเลือกซื้อสินค้าได้ที่ taokaeonline.net เพื่อให้การปูบ่อมีประสิทธิภาพและใช้งานได้อย่างยาวนาน”